การบริหารความเสี่ยงเบื้องต้น

เวลาอ่าน: 1 นาที

การจัดการบริหารความเสี่ยงควรถือเป็นส่วนสำคัญในกลยุทธ์การซื้อขายของคุณ มาเรียนรู้พื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงและวิธีนำไปใช้กับแผนการเทรดของคุณ

ในบทนี้คุณจะได้เรียนรู้ว่า:

  • ทำไมการบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนสำคัญของการซื้อขาย
  • อะไร คือ องค์ประกอบของกลยุทธ์การซื้อขายที่ประสบความสำเร็จ
  • อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน คืออะไร และทำไมมันจึงสามารถนำมาใช้สนับสนุนกลยุทธ์ของคุณ

การบริหารความเสี่ยงเป็นหนึ่งในแนวคิดสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวในตลาดการเงินและเป็นหนึ่งในแง่มุมที่สำคัญที่สุดของการเทรด แต่ทำไมการบริหารความเสี่ยงถึงสำคัญมากและคุณจะนำไปใช้ในกลยุทธ์ของตัวเองได้อย่างไร?

คุณอาจเป็นเทรดเดอร์ที่มีพรสวรรค์มากที่สุดในโลก ด้วยสายตาอันเฉียบคมมองเห็นโอกาสในการลงทุนได้อย่างง่ายดาย แต่บัญชีการเทรดของคุณก็อาจเกิดหายนะได้จากการเทรดเพียงครั้งเดียว หากปราศจากการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม ไม่ว่าคุณจะเก่งกาจหรือมีประสบการณ์มากเพียงใด ก็มีโอกาสที่จะขาดทุนได้ บรรดาเทรดเดอร์ที่เก่งที่สุดในโลกก็ล้วนแล้วแต่เคยขาดทุนกันทั้งนั้น เพราะมันถือเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางแห่งการเทรด นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมการบริหารความเสี่ยงจึงสำคัญมากต่อการเทรดของคุณ 

กฎในการบริหารความเสี่ยงนั้นเข้าใจได้ง่าย แม้แต่สำหรับผู้เริ่มต้น แต่มันเป็นเรื่องท้าทายที่จะทำตามกฏเหล่านั้น เพราะเวลาที่เราเทรดจริง มันมีเรื่องเงินเข้ามากระตุ้นอารมณ์ในรูปแบบต่างๆ

ก่อนที่เราจะไปศึกษาเทคนิคการบริหารความเสี่ยง ลองมาดูกันก่อนว่าทำไมมันจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์การเทรดที่ประสบผลสำเร็จ

 

องค์ประกอบของกลยุทธ์การเทรดที่ประสบความสำเร็จ

กลยุทธ์เพื่อชัยชนะในการเทรด มักจะมีองค์ประกอบสำคัญสามประการ: 

  • ระบบการซื้อขายที่มีความได้เปรียบ: คุณต้องประยุกต์ใช้กฎต่างๆ ที่กำหนดหลักการของกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เช่น การกำหนดระดับราคาที่จะซื้อและขาย หรือการซื้อขายตามทิศทางของเทรนด์ที่เกิดขึ้นเสมอ บางทีคุณอาจใช้เพียงเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average - MA) ในการหาแนวโน้มของเทรนด์ให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และใช้ตัวบ่งชี้แบบสโตคาสติค (Stochastic) เพื่อช่วยระบุว่า จุดที่คุณจะเข้าเทรดนั้นอยู่ในระยะที่ปลอดภัยหรือยัง หลังจากราคาเริ่มเคลื่อนไหวกลับตัว  นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ RSI เป็นตัวชี้วัดเพิ่มเติมเพื่อช่วยประเมินความแน่นอนของเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้น จะอย่างไรก็ดี คุณต้องกำหนดกลยุทธการเทรดในแบบเฉพาะตัว เนื่องจากคุณจะเป็นคนที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเทรดของคุณเอง 
  • ควบคุมอารมณ์ของคุณ: หากคุณทดสอบกลยุทธ์ของคุณทั้งในบัญชีเสมือนและบัญชีจริงแล้ว คุณอาจสังเกตเห็นความแตกต่างของผลลัพธ์ เนื่องจากจิตวิทยาจะมีผลต่อคุณเมื่อคุณทำการเทรดด้วยเงินจริง อารมณ์บางอย่าง เช่น ความกลัว ความโลภ หรือความตื่นเต้นสามารถยับยั้งคุณจากการดำเนินตามแผนกลยุทธ์ที่คุณวางเอาไว้ จนอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางลบ ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้ว การปล่อยให้ราคาทำกำไรไปเรื่อยๆ และการตัดขาดทุนแต่เนิ่นๆ ถือว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดี การควบคุมอารมณ์และทำตามแผนกลยุทธ์ของคุณจะเป็นประโยชน์อย่างมากในเรื่องนี้ 
  • การบริหารเงิน: นี่คือส่วนสำคัญของกลยุทธ์ที่คุณใช้เพื่อกำหนดขนาดของการซื้อขายและจำนวนเลเวอเรจที่จะใช้ รวมถึงการกำหนดจุดเอากำไรและจุดตัดขาดทุน การบริหารเงินถือเป็นสิ่งสำคัญของการเทรดให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว มันจะช่วยให้คุณทำกำไรได้เต็มที่และลดความเสี่ยงที่จะขาดทุน การบริหารเงินที่ดียังช่วยยับยั้งคุณจากการเทรดแบบเสี่ยงมากเกินไปด้วย 

อย่างที่คุณเห็น การพิจารณาองค์ประกอบข้างต้นอย่างเหมาะสมจะมีผลอย่างมากต่อความสามารถในการเทรดของคุณ หากคุณใช้เพียงสองในสามองค์ประกอบ ไม่ช้าก็เร็วคุณอาจประสบกับความล้มเหลวที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หนึ่งในกุญแจสำคัญของการเทรด 'อยู่รอด' ให้นานที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้

ดังนั้น องค์ประกอบใดบ้างที่ทำให้การจัดการการเงินดีขึ้น ลองมาดูเทคนิคบางอย่างที่สามารถช่วยควบคุมความเสี่ยงให้คุณ: 

  • ขนาดของสถานะซื้อขาย
  • การประกันความเสี่ยง ด้วยการเปิดสถานะอื่นๆในด้านตรงข้าม
  • การเทรดในช่วงเวลาที่เหมาะสม
  • การกำหนดจุดเอากำไรและจุดตัดขาดทุน
  • การรู้ว่า ควรยอมขาดทุนในสถานการณ์ใด

ลองมาดูกันว่า ผลจะเป็นอย่างไรหากคุณละเลยหนึ่งในองค์ประกอบทั้งสาม สมมติว่าคุณมีเงินต้นอยู่ในบัญชี 5,000 ดอลลาร์ โดยใช้เลเวอเรจ 100:1 แต่คุณไม่ยอมตั้งค่าจุดตัดขาดทุนเอาไว้ นั่นหมายถึง คุณใช้ประโยชน์จากเงินต้นของคุณไปจนเกือบหมดในการเทรดครั้งนี้ (4,998.51 ดอลลาร์) เหลือทางหนีทีไล่ไว้น้อยมากในกรณีที่ราคาไม่เป็นไปตามคาด การขยับของราคาแต่ละปิ๊ป จะมีค่าเท่ากับกำไรหรือขาดทุนเงินจำนวน 45.90 ดอลลาร์ โดยไร้จุดตัดขาดทุน

มาดูกันต่อว่า เกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้น ข้อมูลบางอย่างถูกเผยแพร่ออกมาและตลาดก็ตอบสนองโดยการที่ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นกว่า 50 ปิ๊ป เทียบกับดอลลาร์สหรัฐ การเคลื่อนไหวของค่าเงินเช่นนี้ ทำให้การเทรดดังกล่าวขาดทุน 2,245 ดอลลาร์ ภายในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งคิดเป็นจำนวนหนึ่งในสี่ของเงินทุนของคุณ เหลือเงินต้นเพียงเล็กน้อยที่จะใช้ในการกอบกู้บัญชีของคุณขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทันที่คุณจะคิดออกว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี ไม่ว่าจะเป็นการปิดสถานะและยอมขาดทุน หรือการตั้งค่าจุดตัดขาดทุนเพื่อป้องกันไม่ให้ขาดทุนมากขึ้น หรืออาจจะลดปริมาณสถานะที่ถืออยู่  แต่แล้วราคาก็เกิดเคลื่อนไหวไปในทางตรงข้ามกับที่คุณคาดไว้อีก 50 ปิ๊ป ทำให้คุณขาดทุนเพิ่มอีก 2,245 ดอลลาร์ นั่นเท่ากับคุณสูญเสียเงินรวมทั้งหมด 4,490 ดอลลาร์สำหรับการเคลื่อนไหว 100 ปิ๊ปที่เกิดขึ้น 

นี่คือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากการเทรดโดยไม่ตั้งค่าจุดขาดทุนเอาไว้และแสดงให้เห็นว่า มันเป็นอันตรายต่อบัญชีของคุณมากแค่ไหน
 

การจัดการบริหารความเสี่ยง: 

ดังที่เราได้กล่าวถึงไปแล้วว่า แม้แต่นักเทรดที่ดีที่สุดก็ยังขาดทุนอยู่บ้าง มันเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ควบคู่กับการเทรด กุญแจสำคัญคือ การจำกัดการสูญเสียของคุณให้อยู่ในระดับที่จัดการได้มากขึ้น ด้วยวิธีนี้ คุณจะพบว่าคุณสามารถอยู่ในตลาดได้นานขึ้นและเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จในการซื้อขายมากขึ้น วิธีหนึ่งที่คุณสามารถสร้างสมดุลระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยง คือ การตั้งมั่นอยู่ในอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง เช่น 2: 1 หรือ 3: 1 ซึ่งผลกำไรเป้าหมายของคุณจะเพิ่มเป็นสองเท่าของผลขาดทุนสูงสุดเสมอ ดังนั้น แม้ว่าคุณจะประสบกับการขาดทุนสามครั้ง หากคุณตั้งมั่นอยู่กับอัตราส่วนในการเทรดดังกล่าว การได้กำไรเพียงสองครั้งก็เพียงพอที่จะชดเชยได้มากกว่าจำนวนเงินที่ขาดทุนก่อนหน้านั้นแล้ว แม้ว่ามันจะไม่ใช่กฎทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่มันช่วยให้เราเห็นภาพของวิธีการเฉพาะในการจัดการความเสี่ยง

ลองดูที่ตัวอย่างเทรดเดอร์สองรายที่เริ่มต้นด้วยเงิน 10,000 ดอลลาร์ และใช้อัตราส่วนความเสี่ยง 2: 1 แต่มีการจัดการเงินในระดับที่แตกต่างกันมากในการซื้อขาย เทรดเดอร์รายแรกใช้วิธีการที่ห้าวหาญมาก โดยใช้ 60% ของเงินทุนของเขามาเสี่ยงในการซื้อขายแต่ละครั้งและพยายามทำกำไรที่ 120% เทรดเดอร์รายที่สองมีความระมัดระวังมากกว่าและยอมเสี่ยงเพียง 5% ของเงินในบัญชีเท่านั้น โดยตั้งเป้าหมายผลกำไรไว้ที่ 10% ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายๆ เราจะสมมติว่าเทรดเดอร์แต่ละรายมีการซื้อขายเหมือนกันสิบครั้งติดต่อกัน โดยได้กำไรจากการเทรดครั้งที่สอง

  

ตารางข้างบนนี้แสดงผลการซื้อขายของเทรดเดอร์สองคนที่ใช้การจัดการความเสี่ยงในระดับต่างกัน

แม้ด้วยความจริงที่ว่า กลยุทธ์ทั้งสองมีอัตราความสำเร็จเท่ากัน มีเงินทุนเริ่มต้นเท่ากัน และใช้อัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยง 2: 1 เหมือนกัน แต่ด้วยรูปแบบการจัดการเงินแตกต่างกันมาก  ผลลัพธ์สุดท้ายจึงออกมาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ วิธีการเชิงรุกของเทรดเดอร์รายแรกส่งผลให้เขาขาดทุน 47% ในขณะที่เทรดเดอร์รายที่สองมีกำไรรวมเกือบ 25% คิดเป็นเงิน 12,462 ดอลลาร์ ดังนั้น คุณจะเห็นได้ว่า การปรับปรุงวิธีจัดการความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นได้อย่างไร
 

หัวใจสำคัญของการเทรด:

ดังที่แสดงไว้ด้านบน การบริหารความเสี่ยงถือเป็นหัวใจสำคัญของการเทรด เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์จะรู้ว่า เขาหรือเธอสามารถเสี่ยงได้มากแค่ไหน แต่ในฐานะผู้เริ่มต้น คุณควรทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุนอย่างสาหัส การขาดทุนอาจเป็นส่วนหนึ่งของการเทรดและหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณจำเป็นต้องรู้วิธีจัดการมัน การจัดการผลกำไรก็เป็นอีกแง่มุมหนึ่ง เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จต้องค้นหาสมดุลระหว่างผลลัพธ์ทั้งสองแบบจากการซื้อขาย กล่าวคือ เขาหรือเธอต้องเพิ่มผลกำไรให้ได้สูงสุด ในขณะที่จำกัดปริมาณการขาดทุน

หากคุณต้องการทราบเพิ่มเติม

Xtb logo

เข้าสู่ตลาดพร้อมลูกค้าของ XTB Group กว่า 1 000 000 ราย

ฟอเร็กและ CFDs เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ และอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียเงินทุนทั้งหมดของคุณ โปรดให้แน่ใจว่าคุณได้เข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดนี้แล้ว
ความสูญเสียสามารถเกินกว่าเงินที่ฝาก

เราใช้คุกกี้

การคลิก "ยอมรับทั้งหมด" แสดงว่าคุณตกลงที่จะจัดเก็บคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณเพื่อปรับปรุงการใช้งานทางไซต์ วิเคราะห์การใช้งานไซต์ และช่วยเหลือในการทำการตลาดของเรา

คุกกี้ประเภทนี้จำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา โดยเกี่ยวข้องกับการทำงานด้านต่างๆ เช่น ตั้งค่าภาษา การกระจายข้อมูลการใช้งาน หรือการคงสถานะเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ คุกกี้จำพวกนี้ไม่สามารถปิดการใช้งานได้

ชื่อคุกกี้
คำอธิบาย
SERVERID
userBranchSymbol cc 16 เมษายน 2024
adobe_unique_id cc 15 เมษายน 2025
SESSID cc 16 เมษายน 2024
__cf_bm cc 8 กันยายน 2022
TS5b68a4e1027
TS5b68a4e1027
_vis_opt_test_cookie

เราใช้เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์การใช้งานเพจของเรา ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เราปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้บนเว็บไซต์ของเราให้ดียิ่งขึ้น

ชื่อคุกกี้
คำอธิบาย
_ga cc 7 กันยายน 2024
_gid cc 9 กันยายน 2022
_gat_UA-146605683-1 cc 8 กันยายน 2022
_gat_UA-121192761-1 cc 8 กันยายน 2022
__hstc cc 7 มีนาคม 2023
__hssrc
__hssc cc 8 กันยายน 2022
_vwo_uuid_v2 cc 16 เมษายน 2025
_vwo_uuid cc 13 เมษายน 2034
_vwo_ds cc 14 กรกฎาคม 2024
_vwo_sn cc 15 เมษายน 2024
_vis_opt_s cc 24 กรกฎาคม 2024

กลุ่มคุกกี้ประเภทนี้ถูกใช้เพื่อแสดงโฆษณาในหัวข้อที่คุณสนใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้เราติดตามกิจกรรมการตลาด รวมถึงช่วยในการวัดประสิทธิภาพของโฆษณาของเรา

ชื่อคุกกี้
คำอธิบาย
_fbp cc 14 กรกฎาคม 2024
fr cc 7 ธันวาคม 2022
hubspotutk cc 7 มีนาคม 2023

คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บค่าที่คุณตั้งไว้ขณะใช้งานเว็บไซต์ เพื่อให้เมื่อคุณเข้ามาใช้บริการในครั้งถัดไป ค่าเหล่านี้จะพร้อมใช้งานอยู่แล้ว

ชื่อคุกกี้
คำอธิบาย

หน้านี้มีการใช้คุกกี้ คุกกี้คือไฟล์ที่จัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณและเว็บไซต์ส่วนใหญ่ ใช้เพื่อช่วยปรับประสบการณ์การใช้งานเว็บของคุณให้เป็นส่วนตัว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา คุณสามารถจัดการคุกกี้ได้โดยคลิก "การตั้งค่า" หากคุณยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา ให้คลิก "ยอมรับทั้งหมด"

เปลี่ยนภูมิภาคและภาษา
ประเทศที่พำนัก
ภาษา