แบบไทย

มูลค่าของปิ๊ปและมาร์จิ้น

เวลาอ่าน: 1 นาที

หนึ่งในการตัดสินใจแรกๆที่คุณจะต้องทำในฐานะเทรดเดอร์ เมื่อจะเริ่มต้นกระบวนการลงทุนของคุณ คือ การกำหนดปริมาณการซื้อขายที่คุณจะนำไปใช้ในการเปิดสถานะ การกำหนดปริมาณการซื้อขายขึ้นอยู่กับปัจจัยทางจิตวิทยาหลายอย่าง เช่น ความสะดวกสบายทางอารมณ์และการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อย่างไรก็ดี มันจะมีความเชื่อมโยงอย่างมากกับการบริหารความเสี่ยงที่คุณวางแผนจะใช้

ในบทนี้คุณจะได้เรียนรู้ว่า:

  • มาร์จิ้นคืออะไร และบทบาทของมันในการบริหารความเสี่ยง
  • บทบาทของปริมาณการซื้อขายกับการจัดการความเสี่ยง
  • วิธีการคำนวณมูลค่าต่อหนึ่งปิ๊บ

หนึ่งในการตัดสินใจแรกที่คุณจะต้องทำในฐานะเทรดเดอร์เมื่อเริ่มต้นเส้นทางการเทรดของคุณ คือ การกำหนดปริมาณการซื้อขายที่คุณจะนำไปใช้ในการเปิดสถานะ การระบุแนวโน้มและโอกาสในการซื้อขายก็ถือเป็นเรื่องหนึ่ง แต่คุณจะใช้เงินเท่าไหร่ในการเปิดแต่ละสถานะ?

การกำหนดปริมาณการซื้อขายขึ้นอยู่กับปัจจัยทางจิตวิทยาหลายอย่าง เช่น ความสะดวกสบายทางอารมณ์และการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อย่างไรก็ดี มันจะมีความเชื่อมโยงอย่างมากกับการบริหารความเสี่ยงที่คุณวางแผนจะใช้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การทำความเข้าใจว่าปริมาณการซื้อขายอาจส่งผลกระทบต่อคุณอย่างไรเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากปริมาณที่คุณเลือกจะกำหนดทั้งมาร์จิ้นในการเทรดและมูลค่าของปิ๊บ
When opening a trade, you will need a certain amount of outlay. This is known as margin. The margin is not a cost but is an amount of money that is frozen when you open a position and is returned to you once the transaction has been closed. It is important to know what amount the margin will be so you can evaluate not only the risk itself but also calculate whether the remaining funds will allow you to open additional positions.

มาร์จิ้น
เมื่อเปิดสถานะเทรด คุณจะต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่ง สิ่งนี้เรียกว่ามาร์จิ้น มาร์จิ้นไม่ใช่ค่าต้นทุน แต่เป็นจำนวนเงินที่ถูกแช่ไว้เมื่อคุณเปิดสถานะและส่งคืนให้คุณเมื่อปิดธุรกรรม มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้ว่า จำนวนเงินมาร์จิ้นจะเป็นเท่าไรเพื่อให้คุณสามารถประเมินความเสี่ยงได้ แถมยังคำนวณได้ว่าเงินทุนที่เหลือจะเพียงพอให้คุณเปิดสถานะเพิ่มเติมหรือไม่
 
อย่าลืมว่า ในการเทรด CFD คุณจำเป็นต้องมีเพียงเศษเสี้ยวของมูลค่าที่กำหนดไว้เพื่อให้ตนเองสามารถเปิดสถานะได้ ตัวอย่างเช่น ด้วยเลเวอเรจ 1: 200 คุณต้องใช้เพียง 0.5% ของมูลค่าที่ระบุไว้สำหรับมาร์จิ้นของธุรกรรมดังกล่าว เลเวอเรจทั่วไปคือ 1 ต่อ 100 ซึ่งหมายความว่า คุณต้องใช้เพียง 1% ของมูลค่าที่ระบุไว้สำหรับมาร์จิ้น กลไกนี้ช่วยให้คุณสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้จากเงินลงทุน แต่ยังทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นเช่นกัน หมายความว่า คุณอาจต้องฝากเงินเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมสถานะของคุณ นอกจากนี้ คุณอาจจะขาดทุนมากขึ้นถ้าราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงข้ามกับสถานะที่คุณเปิด
 

ลองสมมติว่า คุณต้องการเปิดธุรกรรม 1 ล็อตใน GBP / USD ด้วยการใช้เลเวอเรจ 1:100 แต่คุณไม่ทราบว่ามูลค่าต่อล็อตสำหรับคู่เงินนี้เป็นเท่าใด ข้อมูลดังกล่าวสามารถดูได้ในตารางข้อมูลของคู่เงินหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทอื่นๆที่คุณจะเทรด

สำหรับ GBP / USD มูลค่าที่ระบุต่อล็อตคือ 100,000 ปอนด์ หากเลเวอเรจคือ 1:100 คุณสามารถใช้เพียง 1% สำหรับมาร์จิ้นในการซื้อขายครั้งนี้ ซึ่งคำนวณจากสกุลเงินหลักของคู่เงิน ดังนั้น คุณต้องใช้ 1,000 ปอนด์สำหรับมาร์จิ้นในการทำธุรกรรม 1 ล็อต

จากมุมมองของการจัดการความเสี่ยง มาร์จิ้นเป็นสิ่งสำคัญมาก และแนวคิดทั่วไป คือ เทรดเดอร์ไม่ควรเข้าสู่การซื้อขายที่มีมาร์จิ้นสูงกว่า 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด

ย้อนกลับไปที่ตัวอย่างด้านบน หากเงินทุนเริ่มต้นของคุณคือ 5,000 ปอนด์และคุณต้องการเปิดธุรกรรม 1 ล็อต นั่นก็จะคิดเป็น 10% ของทุนทั้งหมดของคุณ สิ่งสำคัญคือ ก่อนที่จะเปิดการซื้อขาย คุณต้องประเมินว่าคุณจะได้มาร์จิ้นสูงสุดเท่าไรและอย่าละเลยกฎใดๆ ที่คุณตั้งไว้สำหรับตัวคุณเอง การปฏิบัติตามกฎการบริหารความเสี่ยงอย่างเข้มงวดเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณอยากประสบความสำเร็จในตลาดการเงิน

มูลค่าของปิ๊ป

ปัจจัยอย่างที่สองที่จะได้รับผลกระทบจากปริมาณการเทรด คือ มูลค่าของปิ๊ป ในกระบวนการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทราบค่าปิ๊ป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการบริหารความเสี่ยง  คุณควรทราบว่า พอร์ตของคุณจะได้รับผลกระทบอย่างไรหากราคาตลาดขยับไปถึง 100 ปิ๊ปตามที่คุณคาดไว้หรือสวนทางกับคุณ

ในการคำนวณค่าปิ๊ป คุณก็สามารถใช้ตารางข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่คุณเทรดได้เช่นกัน

ในการคำนวณมูลค่าปิ๊ป ต่อ 1 ล็อต คุณต้องคูณ "มูลค่าที่ระบุไว้ต่อหนึ่งล็อต" ด้วย "ขนาดของหนึ่งปิ๊ป" และค่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นสกุลเงินที่เสนอซื้อขาย:

100000 x 0.0001 = 10 USD
หมายความว่า หากคุณเปิดธุรกรรม 1 ล็อตบน GBP / USD และราคาตลาดขยับ 100 ปิ๊ป ตามที่คุณต้องการคุณจะทำกำไรได้ 1,000 ดอลลาร์ (10 USD x 100 ปิ๊ป) ในทางกลับกัน หากตลาดไม่เคลื่อนไหวตามที่คุณต้องการคุณจะสูญเสีย 1,000 ดอลลาร์ การคำนวณนี้จะช่วยให้คุณประเมินระดับการขาดทุนที่ยอมรับได้สูงสุดและระดับที่คุณสามารถกำหนดคำสั่ง Stop Loss ได้

แนวคิดทั่วไปคือคุณไม่ควรเสี่ยงเกินกว่า 5% ของเงินทุนทั้งหมดของคุณต่อหนึ่งสถานะ เหตุผลก็คือ การซื้อขายขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็น และคุณควรให้โอกาสในการประเมินกลยุทธ์ของตนเอง เพื่อระบุว่ามันมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าสูญเสียหรือไม่

หากคุณเปิดธุรกรรม 1 ล็อตใน GBP / USD โดยมีมูลค่าปิ๊ปเท่ากับ 10 ปอนด์ โดยคุณจะปฏิบัติตามกฎการไม่ยอมรับการขาดทุนเกินกว่า 5% ของทุนทั้งหมดของคุณ ในกรณีนี้ เงินทุนทั้งหมดของคุณคือ 5,000 ปอนด์ ดังนั้น ความสูญเสียที่ยอมรับได้สูงสุดของคุณคือ 250 ปอนด์หรือประมาณ 380 ดอลลาร์

หากคุณรู้ว่า 1 ปิ๊ป มีค่า 10 ดอลลาร์ และการสูญเสียสูงสุดที่ยอมรับได้ของคุณเพิ่มเป็น 380 ดอลลาร์ ดังนั้น เมื่อเอา 10 มาหาร 380 จุด Stop Loss สูงสุดของคุณควรจะอยู่ที่ 38 ปิ๊ป

จัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

ดังที่แสดงไว้ข้างต้น ทั้งค่าของปิ๊ปและมาร์จิ้น ต่างมีบทบาทสำคัญในการซื้อขาย ดังนั้น การกำหนดขนาดที่เหมาะสมของสถานะซื้อขายของคุณ จึงเป็นส่วนสำคัญของการซื้อขาย เนื่องจากจะทำให้การจัดการสถานะของคุณง่ายขึ้นหรือยากขึ้นหลังจากที่เปิดสถานะ ยิ่งไปกว่านั้น ค่าปิ๊ปและมาร์จิ้นยังมีความสำคัญในแง่ของการบริหารความเสี่ยงด้วย หากคุณเปิดสถานะใหญ่เกินไป การเคลื่อนไหวของราคาเพียงเล็กน้อยก็สามารถดีดคุณออกจากตลาดไปได้ นั่นคือเหตุผลที่คุณต้องเข้าใจทั้งสองอย่างนี้ เพื่อช่วยให้คุณรับผิดชอบต่อการเทรดของตนเองได้ และเพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อขายที่ประสบความสำเร็จ
 

หากคุณต้องการทราบเพิ่มเติม

Xtb logo

เข้าสู่ตลาดพร้อมลูกค้าของ XTB Group กว่า 1 000 000 ราย

ฟอเร็กและ CFDs เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ และอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียเงินทุนทั้งหมดของคุณ โปรดให้แน่ใจว่าคุณได้เข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดนี้แล้ว
ความสูญเสียสามารถเกินกว่าเงินที่ฝาก

เราใช้คุกกี้

การคลิก "ยอมรับทั้งหมด" แสดงว่าคุณตกลงที่จะจัดเก็บคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณเพื่อปรับปรุงการใช้งานทางไซต์ วิเคราะห์การใช้งานไซต์ และช่วยเหลือในการทำการตลาดของเรา

คุกกี้ประเภทนี้จำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา โดยเกี่ยวข้องกับการทำงานด้านต่างๆ เช่น ตั้งค่าภาษา การกระจายข้อมูลการใช้งาน หรือการคงสถานะเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ คุกกี้จำพวกนี้ไม่สามารถปิดการใช้งานได้

ชื่อคุกกี้
คำอธิบาย
SERVERID
userBranchSymbol cc 16 เมษายน 2024
adobe_unique_id cc 15 เมษายน 2025
SESSID cc 16 เมษายน 2024
__cf_bm cc 8 กันยายน 2022
TS5b68a4e1027
TS5b68a4e1027
_vis_opt_test_cookie

เราใช้เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์การใช้งานเพจของเรา ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เราปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้บนเว็บไซต์ของเราให้ดียิ่งขึ้น

ชื่อคุกกี้
คำอธิบาย
_ga cc 7 กันยายน 2024
_gid cc 9 กันยายน 2022
_gat_UA-146605683-1 cc 8 กันยายน 2022
_gat_UA-121192761-1 cc 8 กันยายน 2022
__hstc cc 7 มีนาคม 2023
__hssrc
__hssc cc 8 กันยายน 2022
_vwo_uuid_v2 cc 16 เมษายน 2025
_vwo_uuid cc 13 เมษายน 2034
_vwo_ds cc 14 กรกฎาคม 2024
_vwo_sn cc 15 เมษายน 2024
_vis_opt_s cc 24 กรกฎาคม 2024

กลุ่มคุกกี้ประเภทนี้ถูกใช้เพื่อแสดงโฆษณาในหัวข้อที่คุณสนใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้เราติดตามกิจกรรมการตลาด รวมถึงช่วยในการวัดประสิทธิภาพของโฆษณาของเรา

ชื่อคุกกี้
คำอธิบาย
_fbp cc 14 กรกฎาคม 2024
fr cc 7 ธันวาคม 2022
hubspotutk cc 7 มีนาคม 2023

คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บค่าที่คุณตั้งไว้ขณะใช้งานเว็บไซต์ เพื่อให้เมื่อคุณเข้ามาใช้บริการในครั้งถัดไป ค่าเหล่านี้จะพร้อมใช้งานอยู่แล้ว

ชื่อคุกกี้
คำอธิบาย

หน้านี้มีการใช้คุกกี้ คุกกี้คือไฟล์ที่จัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณและเว็บไซต์ส่วนใหญ่ ใช้เพื่อช่วยปรับประสบการณ์การใช้งานเว็บของคุณให้เป็นส่วนตัว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา คุณสามารถจัดการคุกกี้ได้โดยคลิก "การตั้งค่า" หากคุณยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา ให้คลิก "ยอมรับทั้งหมด"

เปลี่ยนภูมิภาคและภาษา
ประเทศที่พำนัก
ภาษา