คำศัพท์การเทรดพื้นฐาน

เวลาอ่าน: 2 นาที

การเทรดในตลาดการเงินอาจดูซับซ้อนและท้าทายเมื่อคุณอยู่ในช่วงเริ่มต้น การที่มีข้อมูลมากมายให้อ่านในโลกออนไลน์ บวกกับแนวทางการตีความแผนภูมิราคาและข้อมูล รวมถึงตลาดที่ผันผวน มันง่ายที่คุณจะรู้สึกถูกกดดันและตกอยู่ในความกลัวเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองยังไม่รู้ ดังนั้น คุณควรจะจำไว้ว่า พื้นฐานอันเรียบง่ายนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เรามาเริ่มต้นทำความรู้จักกับคำศัพท์ต่างๆ ที่คุณต้องพบเจอในเส้นทางแห่งการเทรดกันเลยดีกว่า

ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้ว่า:

  • เลเวอเรจคืออะไรและทำไมจึงมีความสำคัญในการเทรด CFDs
  • คำสั่งตัดขาดทุน (stop loss) และเอากำไร (take profit) คืออะไร และคุณจะใช้มันอย่างไร
  • อะไรคือความแตกต่างระหว่างราคาเสนอซื้อ (ask) และราคาเสนอขาย (bid)

 

เลเวอเรจ (Leverage)
การเลเวอเรจช่วยให้คุณมีโอกาสได้เทรดในปริมาณที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวนเงินฝากเริ่มต้น เมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นเปอร์เซ็นต์เช่น 5% หรือ 10: 1 ซึ่งอ้างจากจำนวนเงินฝากเริ่มต้น นั่นคือจำนวนเลเวอเรจที่มีให้คุณในการเทรดตลาดดังกล่าว

มาอธิบายโดยเปรียบเทียบกับการลงทุนแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่นหากคุณต้องการซื้อ 10,000 หุ้นของ Barclays และราคาหุ้นอยู่ที่ 280p เงินลงทุนโดยรวมของคุณจะอยู่ที่ 28,000 ปอนด์ ไม่รวมค่าคอมมิชชั่นหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่โบรกเกอร์ของคุณจะเรียกเก็บสำหรับการทำธุรกรรม

อย่างไรก็ตาม ด้วยการเทรดแบบ CFD คุณต้องมีเงินทุนเป็นเปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อยของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดเพื่อเปิดสถานะและรักษาระดับสถานะเอาไว้ โปรดจำไว้ว่า เมื่อทำการเทรดCFD คุณจะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงจริงๆ สมมติว่า XTB ให้คุณใช้เลเวอเรจได้ 10: 1 (หรือ 10%) ในการเทรดหุ้น Barclays ดังนั้น คุณจะต้องฝากเงินเริ่มต้นเพียง 2,800 ปอนด์เพื่อแลกกับหุ้นในจำนวนเดียวกัน

หากหุ้น Barclays เพิ่มขึ้น 10% เป็น 308p มูลค่าของสถานะจะอยู่ที่ 30,800 ปอนด์ ดังนั้น ด้วยการฝากเงินครั้งแรกเพียงแค่ 2,800 ปอนด์การซื้อขาย CFD นี้ทำให้คุณมีกำไร 2,800 ปอนด์ นั่นคือผลตอบแทน 100% จากการลงทุนของคุณเทียบกับผลตอบแทนเพียง 10% หากซื้อหุ้นโดยตรง

หากบาร์เคลย์หุ้นลดลง 10% เหลือ 252 ปอนด์ มูลค่าของสถานะคือ 25,200 ปอนด์ ดังนั้น ด้วยเงินฝากเริ่มต้นเพียงแค่ 2,800 ปอนด์ การซื้อขาย CFD นี้จะทำให้คุณขาดทุน 2,800 ปอนด์ นั่นคือผลตอบแทนการลงทุนของคุณ -100% เทียบกับผลตอบแทน -10% หากซื้อหุ้นโดยตรง


ประโยชน์ของการเลเวอเรจ:

  • สามารถช่วยให้คุณที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากเงินลงทุนของคุณ โดยการเปิดสถานะซื้อขายปริมาณมากๆ ด้วยการฝากเงินหลักประกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • นอกจากนี้ คุณยังสามารถเปิดสถานะเป็นปริมาณมากกว่าที่คุณจะซื้อขายได้ เกินกว่าการซื้อหุ้นแบบปกติ
  • ผลตอบแทนของคุณตามสัดส่วนเงินลงทุนครั้งแรกของคุณสามารถเพิ่มมากขึ้น
  • ทำให้เงินทุนของคุณเพิ่มขึ้นด้วยการลงทุนหรือการซื้อขายในสินทรัพย์ที่หลากหลาย

ความเสี่ยงของการเลเวอเรจ:

  • เช่นเดียวกับกำไรของคุณ การขาดทุนของคุณก็อาจจะเพิ่มมากขึ้นด้วย
  • หากตลาดเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทีคุณคาดการณ์ไว้ คุณอาจถูกปิดสถานะโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การเข้าใจวิธีการจัดการระดับความเสี่ยงของคุณ จึงเป็นเรื่องสำคัญ

ในโลกของการซื้อขาย FX และ CFD การใช้เลเวอเรจถือเป็นกุญแจสำคัญ

ปิ๊ป (Pips)

คำว่า pip ย่อมาจาก percentage in points หรือเปอร์เซนต์ในจุดทศนิยม 

ปิ๊ป เป็นการเปลี่ยนแปลงราคาหน่วยเล็กที่สุดที่ตลาดสามารถทำได้ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละกระดานซื้อขาย

ตัวอย่างเช่น คุณจะสังเกตได้ว่า ราคาของเงินสกุลต่างๆ จะมีทศนิยมสี่ตำแหน่ง นั่นหมายความว่า หากคู่เงิน GBPUSD เคลื่อนไหวจาก 1.2545 ไปเป็น 1.2546 ก็จะเรียกว่า ขยับขึ้นหนึ่งปิ๊บ อย่างไรก็ตาม สำหรับคู่เงิน USDJPY การขยับหนึ่งปิ๊บ จะเท่ากับ 0.01 เพราะคู่เงินดังกล่าวใช้ทศนิยมเพียงสองตำแหน่ง

คุณสามารถดูจากขนาดของล้อตเพื่อที่จะทราบได้ว่า ตนเองจะขาดทุนหรือกำไรเท่าไรต่อหนึ่งปิ๊บ เช่น คู่เงิน EURUSD 1 ล้อตจะมีค่าเท่ากับ 7.62 ปอนด์

นั่นหมายความว่า หากตลาดเป็นไปตามที่คุณคาดการณ์ไว้ 10 ปิ๊บ คุณจะได้กำไร 76.20 ปอนด์ (7.62 x 10) ในทำนองเดียวกัน หากตลาดเป็นไปในทิศทางตรงข้ามกับที่คุณคิด คุณก็จะขาดทุน 76.20 ปอนด์ (7.62 x 10) ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องรู้ค่าปิ๊บก่อนที่จะเปิดสถานะซื้อขาย เพื่อที่จะได้เข้าใจปริมาณกำไรและขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น

Big Figure = ค่าเต็มจำนวน + ทศนิยม 2 หลักแรก

ราคาซื้อและขาย

เมื่อมีการเทรดในตลาดการเงิน คุณจะเห็นสองราคา คือ ราคา ask (ซื้อ) และราคา bid (ขาย)

ราคา bid จะต่ำกว่าราคา ask เสมอ และช่วงแตกต่างระหว่างราคาทั้งสอง เรียกว่า สเปรด ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นทุนการเปิดสถานะเทรดในตลาดใดๆ ก็ตาม

ตัวอย่างเช่น หากหน้าต่างตลาดบนแพลตฟอร์มการซื้อขายของคุณอ้างอิง EURUSD ที่ 1.13956/1.13961 นั่นหมายความว่าราคา bid คือ 1.13956 และราคา ask คือ 1.13961

เมื่อคุณเปิดสถานะ Long หรือ 'ซื้อ' ในตราสารใดตราสารหนึ่ง สถานะของคุณจะถูกเปิดในราคา ask และปิดในราคา bid ในทางกลับกันเมื่อคุณ Short หรือ 'ขาย' สถานะของคุณจะถูกเปิดในราคา bid และปิดในราคา ask

สเปรด
ในตลาดการเงิน สเปรด คือ ค่าความต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขายของตราสารที่เราเทรด สเปรดยังถือเป็นต้นทุนหลักในการเปิดสถานะซื้อขายด้วย ยิ่งสเปรดมีความแคบเท่าไร ต้นทุนก็ถูกลงเท่านั้น สเปรดยิ่งกว้างก็ยิ่งมีต้นทุนสูงขึ้น คุณยังสามารถดูสเปรดเพื่อคาดการณ์ได้ว่า ราคาตลาดต้องขยับขึ้นลงมากน้อยเพียงใดจึงจะทำให้คุณมีกำไร
ตัวอย่างเช่น สมมติว่า คู่เงิน EURUSD ของเราอ้างอิงกับราคาซื้อที่ 1.0984 และราคาขายที่ 1.0983 ดังนั้นสเปรดจะถูกคำนวณโดยการนำ 1.0983 ไปลบ 1.0984 ผลก็คือ สเปรดมีค่ารวมเท่ากับ 0.0001 หรือ 1 ปิ๊บ เมื่อคุณทำการซื้อขายในตลาด EURUSD และตลาดมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่คุณคาดอย่างน้อย 1 ปิ๊บ นั่นคือจุดที่สถานะของคุณกำลังจะเริ่มทำกำไร นั่นคือเหตุผลที่ว่า การเปิดสถานะทุกครั้ง จะเริ่มจากการขาดทุนก่อนเสมอ

วิธีทำความเข้าใจต้นทุนสเปรดด้วย xStation
หากคุณใช้ MT4 คุณจะต้องคำนวณต้นทุนสเปรดด้วยตนเอง หนึ่งในฟังก์ชั่นของ xStation คือเครื่องคำนวณการซื้อขายขั้นสูง ซึ่งระบุต้นทุนสเปรดให้กับปริมาณสถานะที่คุณจะเปิดได้ทันที ในตัวอย่างด้านล่างธุรกรรม 1 ล็อตบนกระดาน EURUSD พร้อมสเปรด 1.1 pips มีมูลค่าเท่ากับ 8.38 ปอนด์

การตัดขาดทุน (Stop Loss)
เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์จะยืนยันได้ว่า หนึ่งในกุญแจสู่ความสำเร็จในตลาดการเงินในระยะยาวคือ การบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ การใช้คำสั่งตัดขาดทุนเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดสำหรับนักลงทุนในการจัดการความเสี่ยงตลอด 24 ชั่วโมง

คำสั่ง Stop Loss คืออะไร
Stop loss คือ ประเภทของคำสั่งปิดสถานะ ที่อนุญาตให้ผู้ค้าระบุระดับที่เฉพาะเจาะจงในราคาตลาด ที่หากถึงราคาดังกล่าว สถานะจะถูกปิดโดยระบบอัตโนมัติ เพื่อป้องกันการขาดทุนเพิ่มขึ้น นี่คือที่มาของชื่อ 'ตัดขาดทุน' เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวสามารถยับยั้งการขาดทุนของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสั่ง Stop Loss ทำงานอย่างไรในทางปฏิบัติ

ลองดูตัวอย่างด้านบน ผู้ซื้อขายได้เปิดสถานะซื้อสำหรับ EURUSD โดยคาดว่ามูลค่ามันจะเพิ่มขึ้นเหนือ 1.13961 หรือเหนือเส้นข้างบน คุณจะสังเกตเห็นเส้นบรรทัดที่สองด้านล่างซึ่งเป็นจุด Stop Loss ตั้งค่าไว้ที่ 1.13160 ซึ่งหมายความว่าหากตลาดอยู่ต่ำกว่าระดับนี้สถานะของเขาจะปิดโดยอัตโนมัติด้วยการขาดทุน ดังนั้น เทรดเดอร์ผู้นี้จะได้รับการปกป้องจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ลงต่ำกว่าจุด Stop Loss เป็นการช่วยจัดการความเสี่ยงและรักษาระดับความสูญเสียให้อยู่ในระดับต่ำสุดที่ยอมรับได้ในปริมาณที่กำหนด

ขณะที่คำสั่งตัดขาดทุนเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการบริหารความเสี่ยงและการขาดทุนของคุณก็ถูกจำกัดอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ แต่มันไม่ได้รับประกันความเสี่ยง 100%

คำสั่งตัดขาดทุนนั้น สามารถใช้ได้ฟรีและช่วยป้องกันบัญชีเทรดของคุณจากการคาดการณ์ผิด แต่โปรดจำไว้ว่า มันไม่สามารถรับประกันว่าสถานะของคุณจะปลอดภัยในทุกกรณี กล่าวคือ หากตลาดมีความผันผวนอย่างกะทันหันและเกิดช่องว่างเกินระดับตัดขาดทุน (กระโดดจากราคาหนึ่งไปยังอีกราคาหนึ่ง โดยไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นในช่วงราคาดังกล่าว) ก็เป็นไปได้ที่สถานะของคุณอาจปิดในระดับที่แย่กว่าที่ตั้งค่าไว้ สถานการณ์แบบนี้เรียกว่า การเลื่อนหลุดของราคา (price slippage)

คำสั่งตัดขาดทุนที่มีการรับประกัน ปราศจากความเสี่ยงในการเลื่อนหลุดของราคา และให้คุณสามารถมั่นใจได้ว่า สถานะจะถูกปิดในระดับที่คุณตั้งค่าไว้ เป็นคำสั่งที่เรามีให้ใช้สำหรับบัญชีทั่วไป (Basic account)

เอากำไร (Take Profit)
คำสั่งเอากำไร คือ คำสั่งที่ปิดการซื้อขายของคุณเมื่อถึงระดับหนึ่งของกำไร เมื่อราคาเคลื่อนไปถึงระดับกำไรที่คุณตั้งค่าไว้ สถานะจะปิดที่ราคาตลาด ณ ขณะนั้น แม้ว่าคำสั่งนี้จะหยุดการทำกำไรให้คุณเพิ่มขึ้น แต่มันก็รับประกันผลกำไรตามที่คุณกำหนดไว้ได้

คำสั่ง Take Profit ทำงานอย่างไรในทางปฏิบัติ

ลองมาดูจากตัวอย่างที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ เทรดเดอร์ได้เปิดสถานะขายบนกระดาน EURUSD โดยคาดว่ามูลค่าจะลดลงต่ำกว่า 1.13941 ซึ่งแสดงโดยเส้นบรรทัดบน คุณจะสังเกตเห็นเส้นบรรทัดด้านล่างซึ่งเป็นจุดเอากำไรที่ 1.12549 ซึ่งหมายความว่า หากตลาดตกลงไปถึงระดับนี้สถานะของผู้ซื้อขายจะถูกปิดโดยอัตโนมัติพร้อมกับกำไรที่ได้รับ ดังนั้น เทรดเดอร์จะได้รับการคุ้มครองจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ลดลงต่ำกว่านั้น อย่างไรก็ตาม มันก็จะทำให้เขาอดได้กำไรเพิ่มขึ้นหากราคาลงมามากกว่าจุดที่ตั้งไว้ เพราะระบบจะเอากำไรออกมาพร้อมกับปิดสถานะ

หากคุณต้องการทราบเพิ่มเติม

Xtb logo

เข้าสู่ตลาดพร้อมลูกค้าของ XTB Group กว่า 1 000 000 ราย

ฟอเร็กและ CFDs เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ และอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียเงินทุนทั้งหมดของคุณ โปรดให้แน่ใจว่าคุณได้เข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดนี้แล้ว
ความสูญเสียสามารถเกินกว่าเงินที่ฝาก

เราใช้คุกกี้

การคลิก "ยอมรับทั้งหมด" แสดงว่าคุณตกลงที่จะจัดเก็บคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณเพื่อปรับปรุงการใช้งานทางไซต์ วิเคราะห์การใช้งานไซต์ และช่วยเหลือในการทำการตลาดของเรา

คุกกี้ประเภทนี้จำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา โดยเกี่ยวข้องกับการทำงานด้านต่างๆ เช่น ตั้งค่าภาษา การกระจายข้อมูลการใช้งาน หรือการคงสถานะเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ คุกกี้จำพวกนี้ไม่สามารถปิดการใช้งานได้

ชื่อคุกกี้
คำอธิบาย
SERVERID
userBranchSymbol cc 16 เมษายน 2024
adobe_unique_id cc 15 เมษายน 2025
SESSID cc 16 เมษายน 2024
__cf_bm cc 8 กันยายน 2022
TS5b68a4e1027
TS5b68a4e1027
_vis_opt_test_cookie

เราใช้เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์การใช้งานเพจของเรา ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เราปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้บนเว็บไซต์ของเราให้ดียิ่งขึ้น

ชื่อคุกกี้
คำอธิบาย
_ga cc 7 กันยายน 2024
_gid cc 9 กันยายน 2022
_gat_UA-146605683-1 cc 8 กันยายน 2022
_gat_UA-121192761-1 cc 8 กันยายน 2022
__hstc cc 7 มีนาคม 2023
__hssrc
__hssc cc 8 กันยายน 2022
_vwo_uuid_v2 cc 16 เมษายน 2025
_vwo_uuid cc 13 เมษายน 2034
_vwo_ds cc 14 กรกฎาคม 2024
_vwo_sn cc 15 เมษายน 2024
_vis_opt_s cc 24 กรกฎาคม 2024

กลุ่มคุกกี้ประเภทนี้ถูกใช้เพื่อแสดงโฆษณาในหัวข้อที่คุณสนใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้เราติดตามกิจกรรมการตลาด รวมถึงช่วยในการวัดประสิทธิภาพของโฆษณาของเรา

ชื่อคุกกี้
คำอธิบาย
_fbp cc 14 กรกฎาคม 2024
fr cc 7 ธันวาคม 2022
hubspotutk cc 7 มีนาคม 2023

คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บค่าที่คุณตั้งไว้ขณะใช้งานเว็บไซต์ เพื่อให้เมื่อคุณเข้ามาใช้บริการในครั้งถัดไป ค่าเหล่านี้จะพร้อมใช้งานอยู่แล้ว

ชื่อคุกกี้
คำอธิบาย

หน้านี้มีการใช้คุกกี้ คุกกี้คือไฟล์ที่จัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณและเว็บไซต์ส่วนใหญ่ ใช้เพื่อช่วยปรับประสบการณ์การใช้งานเว็บของคุณให้เป็นส่วนตัว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา คุณสามารถจัดการคุกกี้ได้โดยคลิก "การตั้งค่า" หากคุณยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา ให้คลิก "ยอมรับทั้งหมด"

เปลี่ยนภูมิภาคและภาษา
ประเทศที่พำนัก
ภาษา